วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6 ผลของการเรียนรู้การสร้างบล็อก

จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการสร้างและใช้งานบล็อก โดยมีส่งงานผ่านทางบล็อก ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหาร เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล เรื่องราว ข่าวสารความ รู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ
ข้อดี ของการทำบล็อก
1. สร้างง่ายไม่เสียเงิน โดยใช้งานผ่านระบบของ Google 
2. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้คนทั่วไปได้รับรู้
3.  สามารถสร้างสื่อเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ และสามารถเรียนได้ไม่จำกัดเวลาและ
สถานที่
4. สำหรับผู้บริหารก็สามารถที่จะสร้างบล็อกเพื่อใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ และสามารถสืบค้นข้อมูลข่าวสาร หรือวิธีการบริหารต่าง ๆ จากบล็อกได้

ข้อเสียของการทำบล็อก 1.เจ้าของบล็อกมีอิสระ ทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยมีวิจารณญาณ สร้างบล็อกที่ขาดคุณธรรม จริยธรรมได้
2.การทำบล็อก มีอิสระ อาจทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ได้

สำหรับตัวข้าพเจ้ามีโอกาสได้เรียนได้ฝึกทำบล็อก ได้รับความรู้และเทคนิคความรู้จากอาจารย์ผู้สอนมากมาย เมื่อนำไปฝึกฝนต่อยอดก็ทำให้มีความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่ในการจัดกิจกรรมของอาจารย์ อาจารย์จะสอนเร็วและเร่งรีบทำให้นักศึกษาตามไม่ค่อยทันในบางครั้ง ต้องมาซักถามกันเองในห้อง การแลกเปลี่ยนรู้กับสมาชิกในห้อง ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าผ่านการฝึกทำบ่อย ๆ น่าจะพัฒนาการทำบล็อกของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 5 ศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์

1. ขั้นตอนในการไปศึกษาดูงาน
    1. ประชุมเพื่อนนักศึกษาทั้งหมด โหวตประเทศที่ต้องการไปศึกษาดูงาน ผลปรากฎได้ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
    2. คณะกรรมการห้อง ประชุมจัดทำโครงการ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ อาจารย์สุภาวดี และ
อาจารย์นพรัตน์ เป็นที่ปรึกษาในการเขียนโครงการ
    3. จัดทำโครงการและเสนอโครงการ
    4. ติดต่อประสานงาน เช่น ประสานบริษัททัวร์ ประสานและดูแลให้นักศึกษาที่ยังไม่มีหนังสือเดินทาง
ไปดำเนินการจัดทำหนังสือเดินทาง
2. ขั้นตอนของการเดินทางและบรรยากาศในการเดินทาง
        24 มกราคม 2554 คณะพร้อมเดินทางสู่ด่านสะเดา จ. สงขลา ศึกษาดูงาน ประทับตราหนังสือ
เดินทาง มุ่งหน้าสู่โรงเรียนมัธยมกวนปูไตรบุตา เสร็จก็เดินทางไปพักผ่อนที่เกาะปีนัง
        25 มกราคม 2554 จากปีนังสู่กัวลาลัมเปอร์ ชมพระราชวัง ชมสถานที่สำคัญในกรุงกัวลาลัมเปอร์
เช่น ตึกแฝด (Twin Tower) ตึกที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์ทหารอาสา เป็นต้น จากนั้นเดินทางสู่
เก็นติ้งเมืองมหานครแห่งความบันเทิงบนภูเขาสูง โดยกระเช้าไฟฟ้า เทคโนโลยีล่าสุดที่สะดวก
ปลอดภัยและรวดเร็วที่สุดในโลก พักโรงแรมเฟิร์สเวิลด์ ณ ที่นี่ โรงแรมไม่มีการติดแอร์ เพราะมี
แอร์ธรรมชาติที่แสนชุมฉ่ำ บรรยากาศตอนเช้าหมอกหนามาก ทำให้พวกเราต้องลงด้วยรถที่จัดไว้ให้
เพราะสถานีกระเช้าไฟฟ้าหยุดเช็คซ่อม
       26 มกราคม 2554 จากเก็นติ้งสู่ปุตราจายา ศูนย์ราชการของมาเลเซีย เราตื่นเต้นกับสถาปัตยกรรมการก่อสร้างที่ออกแบบได้อย่างสวยงาม ลงตัว จากนั้นเดินทางสู่ประเทศสิงคโปร์ แค่ตรงด่านตรวจคน
เข้าเมือง ทำให้พวกเราเริ่มเครียดันบ้างแล้ว ตม. สิงคโปร์เข้มงวดพอสมควร หน้าตาไม่ค่อยยิ้ม แต่ไม่เป็นไร พวกเราสยามเมืองยิ้มอยู่แล้ว ณ จุดตรงนี้พวกเราต้องรอนานมาก เพราะรถต้องทำประกันกับ
บริษัทประกันของสิงคโปร์ด้วย จึงจะขับในสิงคโปร์ได้ จากนั้นก็เข้าที่พัก
       27 มกราคม 2554 วันนี้พวกเราได้สนุกกับบรรยากาศ ณ เกาะเซ็นโตซา ชมด้านหน้ารีสอร์ทเวิลด์
ยูนิเวอร์เซล เอ็นเตอร์เทนแหล่งใหม่ของสิงคโปร์ บรรยากาศพลบค่ำได้ชม Song  of  the  sea
( น้ำพุเต้นระบำ) เสร็จจากชมก็กลับสู่ที่พักที่ยะโฮบารู
       28 มกราคม 2554 ออกเดินทางสู่กัวลาลัมเปอร์ วันนี้ทั้งวันส่วนใหญ่อยู่แต่บนรถ เพื่อที่จะได้กลับ
ถึงบ้านเร็ว พวกเราจึงตกลงกันว่าจะไม่แวะช็อบที่ไหนอีกแล้ว ทั้งเงินในกระเป๋าก็เหลือน้อยเต็มที เวลาประมาณ 21.30 น เราก็ถึงด่านนอก (ด่านสะเดา) กลับเข้าสู่มาตุภูมิโดยสวัสดิภาพ
3. สิ่งที่ได้ และสิ่งที่สามารถนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน
       สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ในการไปดูงานที่โรงเรียนของประเทศมาเลเซีย จะเห็นได้ว่าแตกต่างกับเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง มาเลเซียไม่ได้เน้นในเรื่องหลักสูตรมากนัก แต่เน้นว่าโรงเรียนแต่ละโรงจะเน้นสรรถนะด้านใดให้เกิดกับผู้เรียน เวลาเรียนของนักเรียนแค่ครึ่งวัน อีกครึ่งวันนักเรียนไปเรียนวิชาชีพในชุมชน และแต่ละโรงเรียนจะเน้นในเรื่องที่ไม่เหมือนกัน เข่น โรงเรียนมัธยมกวนปูไทรบุตา จะเน้นเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นและกีฬา เป็นต้น และจากบรรยากาศของพลเมืองของทั้งมาเลเซียและ
สิงคโปร์จะมีระเบียบวินัยในตนเองได้เป็นอย่างดี ในประเทศของเขาจึงไม่ค่อยเห็นอุบัติเหตุ ใน
ตัวเมืองหลวงเป็นลักษณะ City  cardent จึงไม่ค่อยมีมลพิษ แมแต่บนเก็นติ้ง ถึงแม้จะนำแหล่งบรรเทิง
ไปไว้บนภูเขาสูง ก็ไม่มีการทำลายสภาพธรรมชาติ จึงเห็นได้ว่ามาเลเซียจะไม่ค่อยมีปัญหาภัยธรรมชาติ
สิ่งเหล่านี้ได้นำมาสอดแทรกในการสอนนักเรียนได้
4. นำเสนอรูปถ่ายจากการศึกษาดูงาน

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 4

1. จุดเด่น จุดด้อย โอกาสการพัฒนาของโรงเรียนขอนหาดประชาสรรค์


     1.1 บริบทของโรงเรียน โรงเรียนขอนหาดประชาสรรค์เป็นโรงเรียนสหศึกษา ระดับ
มัธยมศึกษา  ตั้งอยู่เลขที่ 168 ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
เปิดทำการสอน ม.1- ม. 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 12 ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด 227 คน ผู้บริหารคนปัจจุบัน คือ นายสุรชัย ทองพันธ์
     1.2 จุดเด่น โรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มทอผ้า
กลุ่มแปรรูปพริก อยู่ใกล้หน่วยงานราชการระดับท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล
ขอนหาด สถานีตำรวจภูธรขอนหาด
     1.3 จุดด้อย บิดามารดาของนักเรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพไกลบ้าน ทิ้งนักเรียน
ไว้กับปู่ ย่า ตา ยาย
     1.4 โอกาสการพัฒนา ด้วยความพร้อมของแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการ
สนับสนุนจากท้องถิ่นที่ดี เป็นโอกาสของโรงเรียนขอนหาดประชาสรรค์ที่ดีมาก เพียงแต่
ทีมงานบริหารต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหาร สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน และดึง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาเป็นวิทยากรให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี

2. ข้อมูลสถานศึกษา มีการดำเนินการดังนี้
     - ข้อมูลนักเรียน จัดเก็บโดยใช้โปรแกรม Student โดยงานทะเบียนนักเรียน
     - ข้อมูลบุคลากร จัดเก็บเป็นเอกสาร
     - ข้อมูลวิชาการและอื่น ๆ ของโรงเรียน จัดเก็บเป็นเอกสาร
     การจัดเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ เมื่อถึงเวลาจะใช้บางครั้งหาข้อมูลไม่เจอ
3. การคิดนวัตกรรมขึ้นมาแก้ปัญหา คือการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรม แบ่งเป็นกลุ่มงาน
ทั้ง 4 ฝ่าย โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนสามารถโอนกันได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ของโรงเรียน นวัตกรรมที่จะใช้กับบุคลกร จะนำวิธีการเขียนบล็อกส่วนตัวและให้ทุกคนมี
อีเมลของตนเองเพื่อการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนครู หรือการสั่งงานนักเรียน

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3 การใช้โปรแกรม SPSS

1. การกำหนดค่า ใน Variable
   ช่อง Name    พิมพ์ข้อมูลกำหนด a1,a2.....d3
   ช่อง Width    พิมพ์ระบุตัวเลขความกว้างตามต้องการ
   ช่อง Deimals พิมพ์เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0,1,2)
   ช่อง Value    พิมพ์ใส่ค่า แถว  กำหนด เพศชาย 1  เพศหญิง 2
                        ส่วนแถว a1,a2....d3 ใส่ระดับความพึงพอใจดังนี้
                        1  น้อยที่สุด  2 น้อย  3  ปานกลาง
                        4  มาก          5  มากที่สุด
2. พิมพ์ข้อมูล ใส่ใน Data View ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด (20ชุด)
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
   ไปที่ transform - compute  variable 
   - พิมพ์หัวข้อ ta ใน taget  variable
    เลือก sum ใน funtion คลิก funtion แล้วพิมพ์ (a1,a2,a3,a4)/4 คลิก ok
   - พิมพ์หัวข้อ tb ใน taget  variable
    เลือก sum ใน funtion คลิก funtion แล้วพิมพ์ (b1,b2,b3,b4)/4 คลิก ok
   - พิมพ์หัวข้อ tc ใน taget  variable
    เลือก sum ใน funtion คลิก funtion แล้วพิมพ์ (c1,c2,c3,c4)/4 คลิก ok
   - พิมพ์หัวข้อ td ใน taget  variable
    เลือก sum ใน funtion คลิก funtion แล้วพิมพ์ (d1,d2,d3)/3 คลิก ok
   - คลิก analyze  descriptic  statistic -frequencies คลิกเลือกหัวข้อ เพศ
      a1,a2.....d3 แล้วคลิก ok ก็จะได้ข้อมูลการประมวลผล
4. ค่าร้อยละ ใช้กับข้อมูลเพศ ตำแหน่ง  เงินเดือน เป็นต้น
5. ค่าเฉลี่ย ใช้กับข้อมูลประเภทข้อคิดเห็นแต่ละข้อ วิธีการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย
    ให้นำไปเทียบกับเกณฑ์สถิติการวิเคราะห์ของนักวิชาการ ซึ่งค้นได้จากงานวิจัย
    และตำราการวิจัย

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1 แนะนำตนเอง

   
 ชื่อ  นางสาวรัตนาวดี  ตรีรัตนกิจ
 ประวัติการศึกษา
 ปริญญาตรี  ครุศาสตร์บัณฑิต 
 วิชาเอกสังคมศึกษา
 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
 ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต  
 สาขาหลักสูตรและการสอน   
 มหาวิทยาลัยนเรศวร
 ตำแหน่งปัจจุบัน 
ครู อันดับ คศ. 2 
วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนขอนหาดประชาสรรค์
อำเภอชะอวด  จังหวัดนครศรีธรรมราช
                                           ปรัชญาในการทำงาน  
                                           งานคือน้ำดับไฟชีวิต

ผู้ติดตาม